เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าภาวะผมร่วงผิดปกติ
การประเมินเส้นผมที่ร่วงในผู้หญิงจะใช้ค่าเฉลี่ยที่ประมาณการร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน
แต่หากประเมินร่วมกับการสระผมจะให้ค่าเฉลี่ยตัวเลขผมร่วงได้ถึงไม่เกิน 200 เส้นต่อวัน
กรณีที่มีผมร่วงมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ก็ถือว่ามีภาวะผมร่วงผิดปกติได้
เรื่องต้องรู้ก่อนรักษาผมร่วงผิดปกติในผู้หญิง
- ไม่ควรประเมินผมร่วงในขณะผมเปียก เพราะเส้นผมจะมีแรงเสียดทานมากผิดปกติ ทำให้เกิดผมขาด
- ผมขาด ไม่เหมือนกับผมร่วง
- ผมร่วง คือผม 1 เส้นที่หลุดออกมาจากรูรากผม แต่ผมขาด คือ ยังมีเส้นผมงอกปักที่หนังศีระษะอยู่ แต่มีส่วนหนึ่งขาดหรือหักออกไปแล้ว
- ผมร่วงผิดปกติ ไม่เท่ากับผมบางจากพันธุกรรม
- ผมร่วงผิดปกติ หากไม่รุนแรง หายเองได้ ถึงแม้ไม่ได้รับการรักษาก็ตาม
- ผมร่วงผิดปกติ ที่รุนแรง อาจจะทำให้เกิดภาวะผมบางชั่วคราวได้ ซึ่งเกิดจากมีเส้นผมร่วงมากเกินไป ทำให้ปริมาณเส้นผมบนหนังศีรษะลดลง เมื่อปริมาณเส้นผมมีจำนวนน้อยลง จึงดูมีภาวะผมบางขึ้น
- ส่วนผมบางจากพันธุกรรม จะมีภาวะเส้นผมที่หนังศีรษะ มีขนาดเส้นผมที่เล็กลงไปเรื่อยๆ จนกระทั้ง เส้นผมมีขนาดเล็กกว่าเดิมมาก จนดูมีภาวะผมบางเกิดขึ้น และจะบางไปเรื่อยๆ ตามอายุ หากไม่ได้รับการดูแล
โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่วงผิดปกติของเส้นผมแต่อย่างใด เนื่องจาก จำนวนเส้นผมบนหนังศีรษะยังมีจำนวนเฉลี่ยเท่าเดิม เพียงแต่มีขนาดเส้นผมที่เล็กลงมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป
ยกเว้น กรณีที่เส้นผมมีขนาดเล็กมากๆ จนกระทั้งรากผมตาย จะไม่มีเส้นผมขึ้นใหม่อีก - ผมบางจากพันธุกรรมเกิดจาก ฮอร์โมน DHT
รูปจาก trichoscan รูปซ้ายเป็นผมบางจากพันธุกรรม จะเห็นว่าเส้นผมมีขนาดเล็กลงมาก เมื่อเทียบกับด้านขวาของคนเดียว(กันตรงตำแหน่งท้ายทอย) ส่วนปริมาณจำนวนเส้นผมใกล้เคียงกัน
- ผมร่วงผิดปกติ เกิดจากสาเหตุหลายๆอย่าง เช่น การเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง การมีผื่นหรือการระคายเคืองที่รุนแรง ที่บริเวณหนังศีรษะ ความเครียด การทำสีผม หรือโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น
- หากจำนวนผมร่วงไม่มาก สามารถคาดเดาได้ว่า สาเหตุอาจจะไม่ได้รุนแรงมาก เช่น เกิดจากภาวะความเครียด การทำสีผม การแพ้น้ำยาย้อมผม การเจ็บป่วยเล็กน้อย
คนไข้อาจจะเลือกที่จะไม่รักษาก็ได้ อดทนรอ เส้นผมที่ร่วงมากผิดปกติ จะค่อยๆกลับสู่ภาวะการร่วงเป็นปกติ ตามเวลาที่ผ่านไปประมาณ 3-6 เดือน - หากมีจำนวนเส้นผมที่ร่วงมากผิดปกติอย่างชัดเจน และรุนแรง มักเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง เช่น การเจ็บป่วยที่รุนแรง การผ่าตัด ความเครียดชนิดรุนแรง เป็นต้น
ในกรณีนี้อาจจะมีผมร่วงมากจนกระทั้งเกิด ภาวะผมบางจากผมร่วงมากเกินไปตามมา ผมที่ดูบางไปนั้นจะค่อยๆกลับมาหนาเหมือนเดิม แต่ใช้วเลาอย่างน้อย 6 เดือน - การเจ็บป่วยที่รุนแรงในปัจจุบันที่เจอบ่อย เช่น การติดเชื้อ COVID , การผ่าตัดที่เจอบ่อย เช่น การผ่าตัดคลอด หรือ แม้กระทั้งการคลอดลูกทางธรรมชาติ
- ภาวะผมร่วงเรื้อรัง สามารถเจอได้ในคนไข้กลุ่มที่รับประทานรักษาโรคประจำตัวบางตัว หรือจากโรคประจำตัวบางอย่าง ร่วมถึงภาวะความเครียดเรื้อรัง
- ผมร่วงผิดปกติในวันนี้ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เนื่องจากเส้นผมที่มีชีวิตจะมีรากผมที่ฝังอยู่ในปลอกผม
เมื่อมีปัจจัยลบรุนแรง จนทำให้เส้นผมที่ใกล้หมดอายุขัย ใกล้จะร่วงออกมาจากปลอกผมในอนาคตอันใกล้ กลับถูกผลักดันให้เกิดการร่วงเลยในปัจจุบันแทน เลยเกิดภาวะผมร่วงผิดปกติขึ้น - เส้นผมที่กำลังจะร่วงออกจากปลอกผม จะใช้เวลาหดตัว และหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะได้นั้น ต้องใช้เวลา
ประมาณ 3 เดือน - ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ผู้ป่วยโควิทวันนี้ จะมีผมร่วงหนักในอีก 3 เดือนข้างหน้า, คลอดบุตรวันนี้ จะมีผมร่วงหนักในอีก 3 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
- หากจำนวนผมร่วงไม่มาก สามารถคาดเดาได้ว่า สาเหตุอาจจะไม่ได้รุนแรงมาก เช่น เกิดจากภาวะความเครียด การทำสีผม การแพ้น้ำยาย้อมผม การเจ็บป่วยเล็กน้อย
ประโยชน์การรักษาผมร่วงผิดปกติ
-
- ช่วงเวลาที่ผมจะต้องร่วงหนัก จะมีช่วงระยะเวลาที่สั้นเข้า เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่รักษาภาวะผมร่วงผิดปกติ
- สามารถลดปริมาณเส้นผมที่ร่วงได้ สามารถลดความรุนแรงของการร่วงได้
- หากทราบสาเหตุการร่วงก่อนหน้าการร่วงได้ จะลดความรุนแรงได้มาก
เช่น ผู้ป่วยโควิทวันนี้ คาดการณืได้ว่าจะมีผมร่วงในอีก 3 เดือนข้างหน้า แต่รับการรักษาดูแลเดือนแรกๆตั้งแต่ ก่อนการร่วงเลย จะลดความรุนแรงของผมร่วงได้มากกว่า
ผู้ป่วยโควิทที่มารับการรักษาตอนเริ่มมีผมร่วงแล้ว - การรักษาดูแลทำให้เส้นผมที่จะขึ้นใหม่ ขึ้นได้เร็วขึ้นมาก
- เส้นผม หนาได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่ได้รักษา
- เส้นผมที่ผ่านการดูแลรักษาไปแล้ว จะมีความแข็งแรงของรากผมมากขึ้น เมื่อกลับไปเจอปัจจัยลบต่างๆ เช่น ภาวะความเครียดรุนแรงเรื้อรัง ก็จะทำให้ปริมาณเส้นผมที่ต้องร่วง ลด
ปริมาณ ลดความรุนแรงของการร่วงลงไปได้
ผมบางจากพันธุกรรมในผู้หญิง
-
- เส้นผมมีขนาดเล็กลงจาก DHT หากมีขนาดเส้นผมที่เล็กลงมากกว่าเส้นผมปกติ จะเห็นภาวะผมบางขึ้น
- จำนวนผมร่วงต่อวันมักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นมีภาวะผมร่วงผิดปกติเข้ามาปนด้วย
- ผมจะค่อยๆบางไปตามอายุที่มากขึ้น เช่น ในคนๆเดียวกัน อายุ 40 ปี จะมีผมบางมากกว่าอายุ 30 ปี
- คนที่มีกรรมพันธุที่รุนแรงกว่าจะมีภาวะผมบางเร็วกว่า และมากกว่า
- หากไม่ได้รักษา หรือดูแล เส้นผมจะค่อยๆบางไปตามเวลาที่ผ่านไป ระดับการเปลี่ยนแปลง ว่าบางเร็วหรือบางช้า ขึ้นกับความรุนแรงของพันธุกรรม
- เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงผมบางจากพันธุกรรม จะมีภาวะผมร่วงผิดปกติจากสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วยเป็นระยะๆ เช่นการเจ็บป่วย ความเครียด ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้น
ทำให้รู้สึกผมบางเร็วขึ้นได้
ตกลงผมร่วงหรือผมบางจากพันธุกรรมกันแน่?
- ข้อมูลที่ชี้แจงไป เป็นข้อมูลทางการแพทย์เพื่อขยายความเข้าใจ เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ ในการดูแลเส้นผมในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม แพทย์ที่ดีเพ็ญ–วรฤทธิ์ จะเป็นผู้ตรวจและประเมิน ให้ว่าท่านเองว่า ท่านมีปัญหาเรื่องมีภาวะผมร่วงผิดปกติ หรือมีภาวะผมบางจากพันธุกรรม หรือมีทั้งสองภาวะ